1. ภาควิชาการศึกษาทั่วไป และวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิชาชีพ
รับผิดชอบ จัดการศึกษาในหมวดวิชา สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จุลชีววิทยาและปาราสิตวิทยา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เคมีวิทยาทางการพยาบาล ชีวเคมี โภชนศาสตร์ เภสัชวิทา พยาธิวิทยา คณิตศาสตร์ ชีวสถิติฟิสิกส์ทางการพยาบาล
2. ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ
รับผิดชอบ จัดการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วิชาแนวคิดและหลักการทางการพยาบาล การพยาบาลพื้นฐาน การบริหารการพยาบาล วิชากฎหมายและจริยธรรม วิชาชีพพยาบาล และวิชาประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาล
3. ภาควิชาการพยาบาลแม่และเด็ก และผดุงครรภ์
รับผิดชอบ ในการจัดการศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการพยาบาลมารดาและทารก โดยให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ การดูแลในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดช่วยให้มารดารู้จักดูแลตนเอง ทารกและครอบครัว รวมถึงการวางแผนครอบครัว สามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของการตั้งครรภ์ปกติและผิดปกติ บทบาทของพยาบาลในการทำคลอดปกติและผิดปกติ รวมทั้งปัญหาในด้านกฎหมาย เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการผดุงครรภ์ เพื่อให้สามารถเป็นผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง และประกอบโรคศิลปตามกฎหมายการประกอบวิชาชีพ
4. ภาควิชาการพยาบาลเด็ก
รับผิดชอบ จัดการศึกษาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการพยาบาล ในเรื่องของความต้องการของเด็กปกติ ตามลักษณะของการเจริญเติบโต การพัฒนาของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดูแลรักษาสุขภาพของเด็ก และการพาบาลเด็กป่วย รวมทั้งทารกคลอดก่อนกำหนด การป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก
5. ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
รับผิดชอบ การจัดการศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาทางด้าน อายุรกรรม ศัลยกรรม และทางนรีเวช สามารถวินิจฉัยแก้ปัญหาช่วยเหลือ และป้องกันอุบัติเหตุ และให้การพยาบาลวิธีต่าง ๆ ได้ถูกต้องเหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพนั้น ๆ รวมทั้งการรักษาทางยา การเตรียมตรวจโรคทางอายุรกรรมและเตรียมตรวจโรคทางศัลยกรรม การให้การพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัดคลอด จนการช่วยผู้ป่วย ในระยะพักฟื้น การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและความพิการ ที่อาจเกิดตามภายหลัง การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย และรู้จักใช้แหล่งบริการทางสุขภาพชุมชน
6. ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวช
รับผิดชอบ ในการจัดการศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติ ทางด้านจิตใจโดยนำความรู้ในวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา มนุษย์วิทยา มาประยุกต์ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในกลไกของพฤติกรรม ความต้องการทางด้านอารมย์ และจิตใจของผู้ป่วย ที่เป็นโรคทางจิต ศึกษาถึงวิธีการให้การรักษาทั้งด้านร่างกายจิตใจ การป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่ม ซึ่งมีอิทธิพลทางสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการรักษา
7. ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
รับผิดชอบ ในการจัดการศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับอนามัยชุมชน การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และความสำคัญของระบาดวิทยา ปัญหาด้านอนามัยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทและความรับผิดชอบของพยาบาล ในงานสาธารณสุขมูลฐาน การนิเทศงานในชุมชน งานอนามัยเอนกประสงค์ ทั้งในเมืองและชนบท เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
รับผิดชอบในการจัดการศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ให้สามารถตรวจวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาขั้นต้นแก่ผู้ป่วย ตลอดจนถึงการส่งต่อผู้ป่วย